Light mode background

Introduction

อัพเดตล่าสุดเมื่อ

4-02-2025

CSS คืออะไร?

CSS (Cascading Style Sheets) คือภาษาที่ใช้สำหรับตกแต่งและจัดรูปแบบการแสดงผลของเว็บไซต์เปรียบเสมือนการ “แต่งตัว” ให้กับโครงสร้าง HTML ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดสี ขนาด รูปแบบตัวอักษร การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ รวมถึงการปรับแต่งเว็บไซต์ให้แสดงผลเหมาะสมบนทุกอุปกรณ์ ทั้งมือถือ แท็บเล็ต และเดสก์ทอป

ทำไมต้องใช้ CSS?

CSS ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบสำหรับเว็บของคุณ รวมถึงการออกแบบ การจัดวางเลย์เอาต์และ การแสดงผลที่แตกต่างกันสำหรับอุปกรณ์และขนาดต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้สำหรับเอฟเฟกต์ต่างๆ เช่น แอนิเมชั่นได้อีกด้วย เพื่อดึงดูดและเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ใช้หรือผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ มาดูเหตุผลสำคัญที่เราจำเป็นต้องใช้ CSS:

1. สร้างเว็บไซต์ที่สวยงาม

หากเว็บไซต์มีเพียง HTML อย่างเดียว จะได้เพียงข้อความและรูปภาพที่เรียงต่อกัน ไม่มีการจัดวางที่สวยงาม CSS ช่วยให้เราสามารถ:

  • ปรับแต่งสีและรูปแบบตัวอักษร
  • จัดวางองค์ประกอบให้น่าสนใจ
  • เพิ่มเอฟเฟกต์และการเคลื่อนไหว

เว็บไซต์ที่ไม่ใช้ CSS

เว็บไซต์ที่ไม่ใช้ CSS
เว็บไซต์ที่ใช้ CSS

2. ประหยัดเวลาในการพัฒนา

CSS ช่วยให้เราสามารถกำหนดสไตล์ครั้งเดียวแล้วนำไปใช้ได้ทั้งเว็บไซต์ ไม่ต้องเสียเวลากำหนดสไตล์ซ้ำๆ ในทุกหน้า เช่น:

  • กำหนดสีหลักของเว็บไซต์
  • รูปแบบปุ่มที่ใช้ทั้งเว็บ
  • ขนาดและสไตล์ของหัวข้อ

การกำหนดสไตล์ของ CSS เพื่อนำไปใช้ซ้ำ

Result

จากตัวอย่างข้างต้น สามารถเห็นได้ว่าเรากำหนดสไตล์หลักของเว็บไซต์ในตัวแปรที่เรียกว่า Custom Properties หรือ CSS Variables แล้วนำไปใช้ในทุกส่วนของเว็บไซต์ ทำให้การเปลี่ยนแปลงสไตล์เว็บไซต์เป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว

:root คืออะไร?

:root คือ pseudo-class ที่ใช้กำหนดตัวแปรที่ใช้ในทั้งหน้าเว็บไซต์ โดยสามารถเรียกใช้ได้ทุกที่ใน CSS โดยใช้ var()ในการเรียกใช้ตัวแปร เช่น var(--primary-color)

ข้อดีของการใช้ :root

  • จัดระเบียบ: เก็บตัวแปรไว้ที่เดียว ค้นหาง่าย
  • ปรับแต่งง่าย: แก้ค่าที่ :root ทีเดียว เปลี่ยนทั้งเว็บ
  • ทำ Theme ได้: สลับ Dark/Light mode ได้ง่าย
  • Responsive: ปรับค่าตามขนาดหน้าจอได้

ตัวอย่างการใช้งานจริง:

Loading...
เทคนิคการตั้งชื่อตัวแปรใน :root 📝
  • ใช้ชื่อที่สื่อความหมาย เช่น --color-primary ดีกว่า --color1
  • จัดกลุ่มตัวแปรให้เป็นระบบ เช่น
    • --spacing-... สำหรับระยะห่าง
    • --color-... สำหรับสี
    • --font-... สำหรับฟอนต์
ข้อควรระวัง ⚠️
  • ตั้งชื่อตัวแปรต้องขึ้นต้นด้วย -- เสมอ
  • ค่าที่กำหนดใน :root ควรเป็นค่าพื้นฐานที่ใช้บ่อย
  • ระวังการตั้งชื่อซ้ำ เพราะค่าหลังจะทับค่าแรก

3. รองรับทุกอุปกรณ์

ปัจจุบันผู้ใช้เข้าเว็บผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยใน CSS จะเรียกว่า Media Query (เราจะมาทำความรู้จักกันในหัวข้อ Media Query และเรียนรู้การใช้งานในหัวข้อ CSS Responsive) ซึ่ง CSS ช่วยให้:

  • เว็บแสดงผลได้ดีทั้งบนมือถือและคอมพิวเตอร์
  • ปรับขนาดและการจัดวางตามหน้าจอ
  • รักษาประสบการณ์การใช้งานที่ดีบนทุกอุปกรณ์
Slide 1
Slide 2
Slide 3

โครงสร้างพื้นฐานของ CSS (Syntax)

1. รูปแบบพื้นฐาน

Loading...

ตัวอย่าง:

Loading...

2. องค์ประกอบของ CSS

Selector: ตัวเลือกที่ระบุว่าจะจัดรูปแบบให้กับส่วนใดของ HTML

Loading...

Declaration Block: ส่วนที่อยู่ภายในเครื่องหมาย { }

  • ประกอบด้วย property และ value
  • แต่ละ declaration ต้องจบด้วยเครื่องหมาย Semicolon หรือ ;

Property: คุณสมบัติที่ต้องการกำหนด เช่น

Loading...

3. วิธีการใช้งาน CSS

Inline CSS: เขียนโดยตรงในแท็ก HTML

Loading...

Internal CSS: เขียนในส่วน head ของ HTML

Loading...

External CSS: เขียนแยกไฟล์ โดยใช้นามสกุลไฟล์ว่า .css

Loading...
สิ่งที่ควรระวัง

การเขียน CSS ที่ดีมีหลักการสำคัญที่ควรปฏิบัติตามเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและทำให้เว็บไซต์แสดงผลได้อย่างถูกต้อง เริ่มจากการใส่เครื่องหมาย Semicolon (;) หลังทุก declaration เพื่อแยกคำสั่งแต่ละส่วนให้ชัดเจน

นอกจากนี้ การสะกดชื่อ property และ value ต้องถูกต้องตามมาตรฐาน CSS เพราะแม้ผิดเพียงตัวอักษรเดียวก็อาจทำให้สไตล์นั้นไม่ทำงาน

เมื่อกำหนดสไตล์ให้กับองค์ประกอบต่างๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้ selector ที่ถูกต้องและตรงกับองค์ประกอบที่ต้องการจัดรูปแบบ พร้อมทั้งคำนึงถึงเรื่อง specificity หรือความเฉพาะเจาะจงของ selector ที่ใช้ เพราะอาจส่งผลต่อการทับซ้อนของสไตล์ได้

สร้างเมื่อ

27-01-2025

อัพเดตล่าสุดเมื่อ

4-02-2025